รำถวายพระพร
Saturday, February 18, 2017
Thursday, February 16, 2017
ฟ้อนตังหวาย Forn tang wai
งหวาย เป็นชื่อเมืองหนึ่งในแคว้นสะหวัีนนะเขต
แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชาวตังหวายมีวัฒนธรรมการขับลำด้วยท่วงทำนองแบบเฉพาะของตน
เรียกลำทำนองนี้ว่า "ลำตังหวาย" หมายถึงลำด้วยท่วงทำนองแบบชาวตังหวาย หรือลำสังวาดตังหวาย นั่นเอง
ฟ้อนตังหวาย เป็นชุดการแสดงเมื่อ นายประดิษฐ์
แก้วชิน ได้ไปพบการแสดงนี้ในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
เห็นว่าการแสดงหมอลำตังหวายมีทำนองสนุกสนาน
จึงได้ทดลองให้เด็กนักเรียนมาฝึกหัด แล้วนำออกไปแสดงในงานปีใหม่
ที่ทุ่งศรีเมืองกลางเมืองอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2514
ต่อมา อ. ศิริเพ็ญ หัวหน้าภาควิชานาฏศิลป์วิทยาลัยครูอุบลราชธานี (มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี) เห็นควรจะส่งเสริมให้เป็นชุดการแสดงประจำจังหวัด จึงได้นำเอาต้นแบบไปเพิ่มเติมให้สวยงามมากยิ่งขึ้น
เนื้อร้อง "ลำตังหวาย" ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
(เกริ่นนำ) โอ..... บุญเอ๋ย บุญอีนางที่เคยสร้าง
ซางบ่เป็นหนทาง โอ๊ยหนทาง พอให้น้องได้เที่ยว ละซางมีบาปมาแล่นเข็น
ละซางมีเวรมาแล่นต้อง ทำให้น้องห่างพี่ชาย ห่างพี่ชาย โอ๊ยละนา ....
(กล่าวคำกลอน)
ตังหวายนี้มีมาแต่โบราณ ชาวอีสานบำรุงไว้อย่าให้หาย
ของเขาดีมีไว้อย่าทำลาย ขอพี่น้องทั้งหลายจงได้ชม
เขมราฐอำเภอถิ่นบ้านเกิด ช่วยกันเถิดรักษาไว้อย่าได้สูญ
ท่าฟ้อนรำต่างๆช่วยเพิ่มพูน อย่าให้สูญเสียศิลปะเรา
…………………
(ขึ้นทำนองลำ)
(หญิง) บัดนี้ข้าขอยอนอแม่นมือน้อม ชุลีกรเด้อแม่นก้มกราบ
ชูสลอนนอนบนอบนิ้ว ถวายไท้ดอกผู้อยู่เทิง อ้ายพี่คนงามนี่นา หนาคิงกลม
(เยือกๆๆๆ)
(หญิง) ชายเอย จุดประสงค์นอแม่นหมายแม้น
เพื่อเผยศิลป์นอพื้นบ้านเก่า ของไทยเฮานอตั้งแต่ก่อน
โบราณผู้ให้เฟื่องให้ฟู อ้ายพี่ของน้องนี่นา คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)
(ชาย) คำนาง ปูเป็นทางนอเพื่อเลือกแต้ม ทางอีสานนอบ่ให้หลุดหล่น
มรภ.อุบลฯ เฮาแม่นพวกพ้อง นำมาฮ้อง ออกโฆษณา หล่าพี่คนงามนี่เอย
หนองหมาว้อ (เยือกๆๆๆ)
(หญิง) ชายเอย หาเอาตังกะละแม่นหวายเซิ้ง ลำแต่เทิงน้อบ้านเจียดก่อ
สืบแต่กอเด้อซุมผู้เฒ่า ใบลานพู้นดอกพื้นกะหาย ดอกพื้นกะหาย
ดอกพื้นกะหาย อ้ายพี่ของน้องนี่นา คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)
(ชาย) คำนาง คนจบๆเด้อแม่นจั่งน้อง งามๆเด้อแม่นจั่งน้อง
ซางบ่ไปน้อแม่นกินข้าว หัวมองหนอแม่นนำไก่ คนขี้ฮ้ายคือว่าจั่งอ้าย
กินข้าวแม่นบ่ายปลา หล่าพี่คนงามนี่เอย ครูบ้านนอก (เยือกๆๆๆ)
(หญิง) ชายเอย คิดถึงคราวนอแม่นเฮาเว้า อยู่เถียงนาน้อบ่มีฝา
แม่สิฟาดนอแม่นไม้ค้อน แม่สิย้อนนอแม่นไม้แส้ ตีน้องนั่นแต่ผู้เดียว
นั่นแต่ผู้เดียว นั่นแต่ผู้เดียว อ้ายพี่ของน้องนี่นา คนงามเอย
(เยือกๆๆๆ)
(ชาย) นางเอย ไปบ่เมือนอแม่นนำอ้าย เมือนำนอแม่นอ้ายบ่
ค่ารถอ้ายบ่ให้เสีย ค่าเฮืออ้ายบ่ให้จ้าง อ้ายสิตายนอแม่นเป็นซ้าง
เอราวัณนอให้น้องขี่ ตายเป็นรถนอแม่นแท็กซี่ ให้น้องนี่ขี่ผู้เดียว
ขี่ผู้เดียว ขี่ผู้เดียว หล่าพี่คนงามนี่เอย คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)
(หญิง) ชายเอย ย้านบ่จริงนอแม่นจั่งว่า สีชมพูนอแม่นจั่งว่า
หย้านคือตอกกะลิแม่นมัดกล้า ดำนาแล้วดอกเหยียบใส่ตม เหยียบใส่ตม
เหยียบใส่ตม อ้ายพี่ของน้องนี่นา คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)
(ชาย) บัดนี้ ขอสมพรนอแม่นไปให้ ทหารไทยนอแม่นกล้าแกร่ง
ทั้งชายแดนและตำรวจน้ำ อ.ส.กล้าท่านจงเจริญ สรรเสริญภิญโญนอเจ้า
ขอให้สุขนอแม่นทั่วหน้า ชาวประชาทุกคืนทุกวัน ทุกคืนทุกวัน ทุกคืนทุกวัน
หล่าพี่คนงามนี่เอย คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)
(ขึ้นทำนองเต้ยโขง)
เอ้าลาลาลาลาที เอ้าลาลาลาลาที ขอให้โชคดีเถิดนะแฟนจ๋า
เสียงจากลูกทุ่งบ้านนา เสียงจากลูกทุ่งบ้านนา โชคดีเถิดหนาลองฟังกันใหม่
ถ้าหากสนใจฉันขอขอบคุณ ถ้าหากสนใจฉันขอขอบคุณ
คันไกลคันไกลกันแล้ว คันไกลคันไกลกันแล้ว เฮือแจวมันไกลจากฝั่ง
เฮือแจวมันไกลจากฝั่ง ดอกสะมังละมันไกลจากต้น จากต้นละจากต้น จากต้น
บ่มีได้แม่นกลิ่นหอม นั่นละนาหนานวลนา ละนาคนไทยนี่นา หางตาเจ้าลักท่าลา
พวกฉันขอลาไปแล้ว พวกฉันขอลาเจ้าไปแล้ว
.................................................
ฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ Forn bai sri su khwan
ความสำคัญของพิธีบายศรีสู่ขวัญ
ความสำคัญของพิธีบายศรีสู่ขวัญ
พิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นพิธีที่สำคัญของชาวอีสาน
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับขวัญและจิตใจ เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจที่ดีขึ้น
การดำเนินชีวิตของชาวอีสานแทบทุกอย่าง จึงมีการบายศรีสู่ขวัญควบคู่กันไปเสมอ
เป็นการเรียกร้องพลังทางจิต
ช่วยให้มีพลังใจที่เข้มแข็ง
สามารถฟันฝ่าภัยพิบัติต่างๆได้ การสู่ขวัญช่วยทำให้เกิดมงคล
ทำให้ดำรงอยู่ด้วยความสุขราบรื่น
มีโชคลาภมากขึ้น
และอาจดลปรารถนาให้ผู้ที่เคราะห์ร้ายพ้นจากสรรพเคราะห์ทั้งปวง ด้วยมูลเหตุแห่งการสู่ขวัญ
การประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญของชาวอีสาน
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับขวัญและจิตใจ ช่วยก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจที่ดีขึ้น
ซึ่งชาวอีสาน
เห็นความสำคัญทางจิตใจเป็นอย่างมาก
ดังนั้นวิถีการดำเนินชีวิตแทบทุกอย่างจึงมักจะมีการสู่ขวัญควบคู่กันไปเสมอ
การสู่ขวัญจะช่วย
ให้เกิดศิริมงคล ชีวิตอยู่ด้วยความราบรื่น จิตใจเข้มแข็ง
โชคดียิ่งขึ้น ปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดี หายจากสรรพเคราะห์ทั้งปวง
ทั้งพิธีบายศรีสู่ขวัญ
มีหลายรูปแบบ แล้วแต่ว่าจะจัดพิธีสู่ขวัญในเรื่องใด
เช่นการสู่ขวัญเด็ก การสู่ขวัญนาค การสู่ขวัญบ่าวสาว
หรือจะเป็นการสื่อขวัญ
ในเหตุที่ทำให้เกิดการเสียขวัญ จิตใจไม่ดี
เพื่อเรียกให้ขวัญมาอยู่กับเนื้อกับตัว สิ่งไม่ดีให้ผ่านพ้นไป มีพลังใจที่ดี
รวมทั้งการสู่ขวัญสัตว์
และสิ่งต่างๆก็อาจทำได้
แต่การปฏิบัตินอกจากจะมีเครื่องขวัญที่ใช้ในพิธีแล้ว พิธีการต่างๆก็จะแตกต่างกันไปเป็นปลีกย่อย
แล้วแต่ลักษณะพิธี
ซึ่งประเพณีบายศรีสู่ขวัญในภาคอีสาน
เป็นประเพณีที่ประชาชนส่วนมาก ยังนิยมปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป
เพราะถือว่าเป็นพิธีที่เป็นศิริมงคล
เป็นการมอบความปรารถนาดีและดลบันดาลให้
ผู้รับการทำพิธีตลอดจนผู้เกี่ยวข้องมีความสุขความเจริญ และจิตใจสงบสุข
และส่งเสริมให้ประชาชนมีความรักใคร่กันเป็นอย่างดี นับเป็นวัฒนธรรมที่ดี
ควรแก่การอนุรักษ์ให้อยู่สืบไป
การบายศรีสู่ขวัญ
เป็นวัฒนธรรมอันดีของชาวอีสานและชาวเหนือจัดขึ้นเพื่อเป็นการรับขวัญ
และเรียกขวัญของผู้ที่จากบ้านไปไกล
ด้วยเวลาอันยาวนาน หรือผู้ที่เพิ่งหายป่วยไข้
ตลอดจนเป็นการแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งในทางราชการ
และเป็นการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือน ซึ่งในภาคอีสานนั้น
เมื่อมีการจัดงานอะไรก็ตาม ก็จะมีพิธีบายศรีสู่ขวัญควบคู่ไปด้วย
การจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญก็เพื่อต้อนรับแขกนั้น
มักจะทำกันอย่างสวยงาม ใหญ่โต
พิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นพิธีที่สำคัญของชาวอีสาน
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับขวัญและจิตใจ เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจที่ดีขึ้น
การดำเนินชีวิตของชาวอีสานแทบทุกอย่าง จึงมีการบายศรีสู่ขวัญควบคู่กันไปเสมอ
เป็นการเรียกร้องพลังทางจิต
ช่วยให้มีพลังใจที่เข้มแข็ง
สามารถฟันฝ่าภัยพิบัติต่างๆได้ การสู่ขวัญช่วยทำให้เกิดมงคล
ทำให้ดำรงอยู่ด้วยความสุขราบรื่น
มีโชคลาภมากขึ้น
และอาจดลปรารถนาให้ผู้ที่เคราะห์ร้ายพ้นจากสรรพเคราะห์ทั้งปวง ด้วยมูลเหตุแห่งการสู่ขวัญ
การประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญของชาวอีสาน
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับขวัญและจิตใจ ช่วยก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจที่ดีขึ้น
ซึ่งชาวอีสาน
เห็นความสำคัญทางจิตใจเป็นอย่างมาก
ดังนั้นวิถีการดำเนินชีวิตแทบทุกอย่างจึงมักจะมีการสู่ขวัญควบคู่กันไปเสมอ
การสู่ขวัญจะช่วย
ให้เกิดศิริมงคล ชีวิตอยู่ด้วยความราบรื่น จิตใจเข้มแข็ง
โชคดียิ่งขึ้น ปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดี หายจากสรรพเคราะห์ทั้งปวง
ทั้งพิธีบายศรีสู่ขวัญ
มีหลายรูปแบบ แล้วแต่ว่าจะจัดพิธีสู่ขวัญในเรื่องใด
เช่นการสู่ขวัญเด็ก การสู่ขวัญนาค การสู่ขวัญบ่าวสาว
หรือจะเป็นการสื่อขวัญ
ในเหตุที่ทำให้เกิดการเสียขวัญ จิตใจไม่ดี
เพื่อเรียกให้ขวัญมาอยู่กับเนื้อกับตัว สิ่งไม่ดีให้ผ่านพ้นไป มีพลังใจที่ดี
รวมทั้งการสู่ขวัญสัตว์
และสิ่งต่างๆก็อาจทำได้
แต่การปฏิบัตินอกจากจะมีเครื่องขวัญที่ใช้ในพิธีแล้ว พิธีการต่างๆก็จะแตกต่างกันไปเป็นปลีกย่อย
แล้วแต่ลักษณะพิธี
ซึ่งประเพณีบายศรีสู่ขวัญในภาคอีสาน
เป็นประเพณีที่ประชาชนส่วนมาก ยังนิยมปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป
เพราะถือว่าเป็นพิธีที่เป็นศิริมงคล
เป็นการมอบความปรารถนาดีและดลบันดาลให้
ผู้รับการทำพิธีตลอดจนผู้เกี่ยวข้องมีความสุขความเจริญ และจิตใจสงบสุข
และส่งเสริมให้ประชาชนมีความรักใคร่กันเป็นอย่างดี นับเป็นวัฒนธรรมที่ดี
ควรแก่การอนุรักษ์ให้อยู่สืบไป
การบายศรีสู่ขวัญ
เป็นวัฒนธรรมอันดีของชาวอีสานและชาวเหนือจัดขึ้นเพื่อเป็นการรับขวัญ
และเรียกขวัญของผู้ที่จากบ้านไปไกล
ด้วยเวลาอันยาวนาน หรือผู้ที่เพิ่งหายป่วยไข้
ตลอดจนเป็นการแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งในทางราชการ
และเป็นการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือน ซึ่งในภาคอีสานนั้น
เมื่อมีการจัดงานอะไรก็ตาม ก็จะมีพิธีบายศรีสู่ขวัญควบคู่ไปด้วย
การจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญก็เพื่อต้อนรับแขกนั้น
มักจะทำกันอย่างสวยงาม ใหญ่โต
นาฏลีลาฟ้าหยาด และ ประวัติความเป็นมา
เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง
มีความอุดมสมบูรณ์ผู้ปกครองเมืองคือพญาฟ้าแดด มีพระมเหสีชื่อ
"พระนางจันทาเทวี"(เขียวค่อม) มีพระธิดาชื่อ "พระนางฟ้าหยาด"
เป็นผู้ที่มีพระสิริโฉมงดงามมาก เป็นที่หวงแหนของพระราชบิดา-มารดา
พญาฟ้าแดดให้ช่างสร้างปราสาทเสาเดียวไว้กลางน้ำ
โดยใช้ศิลาแลงในการก่อสร้างบริเวณนี้ปัจจุบันเรียกว่า "โนนฟ้าแดด"
นอกนั้นยงมีการขุดสระไว้รอบเมือง มีคูค่ายและเชิงเนิน มีหอรบอย่างแข็งขัน
สระที่ขุดไว้ในปัจจุบันเป็นหนองน้ำสาธารณะ เมืองลูกหลวงของเมืองฟ้าแดดคือ
เมืองสงยาง มอบให้อนุชาชื่อ พญาอิสูรย์ (เจ้าฟ้าระงึม) เป็นผู้ครองเมือง
เมืองทั้งสองห่างกันประมาณ 2 กิโลเมตร เลยรวมเรียกว่า "เมืองฟ้าแดดสงยาง"
เมืองเชียงโสม เป็นเมืองหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับเมืองฟ้าแดด
มีพญาจันทราชเป็นผู้ปกครองจัดให้มีเทศกาลเล่นหมากรุก และตีหิงคลี
ใครแพ้-ชนะ ก็จะส่งส่วยกินเมืองตามประเพณี
ครั้งหนึ่งพญาจันทราชได้ออกล่าสัตว์ และต่อไก่ มุ่งหน้าลงทางใต้
จึงถึงหนองเลิง ได้หลงทางเข้าไปในอุทยานของนางฟ้าหยาด
เมื่อพญาจันทราชพบหน้านางฟ้าหยาดก็ชอบพอ
ต่อมาพญาจันทราชเดินทางกลับเมืองเชียงโสมได้มอบให้ขุนเล็ง ขุนดาน
นำเครื่องบรรณากาารมาสู่ขอนางฟ้าหยาด แต่ไม่สำเร็จ พญาจันทราช
จึงได้เคลื่อนขบวนทัพมาตีเมืองฟ้าแดดสงยาง
โดยขอความช่วยเหลือไปยังเมืองเชียงสง เชียงสา เชียงเครือ ท่างาม น้ำดอกไม้
สาบุตรกุดอก ให้ส่งกองทัพมาช่วยฝ่ายพญาฟ้าแดด
เมื่อทราบข่าวก็ขอความช่วยเหลือไปยังผู้ปกครองเมืองสงยางผู้เป็นอนุชาให้มาช่วยรบ
เมื่อเกิดสงครามมีคนล้มตายเป็นจำนวนมาก พญาจันทราชสิ้นพระชนม์บนคอช้าง
แม่ทัพนายกองเห็นดังนั้นก็ยอมแพ้
นางฟ้าหยาดเมื่อทราบข่าวก็มีความเสร้าโศกจนสิ้นชีวิตบนปราสาทกลางน้ำ
ต่อมาพญาฟ้าแดดก็ให้ นำศพนางฟ้าหยาด และศพพญาจันทราช บรรจุลงในหีบทองคำ
ตกแต่งอย่างสมพระเกียรติ และให้สร้างเจดีย์คู่เป็นอนุสรณ์ไว้
(ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของโนนเมืองฟ้าแดดสงยาง)
ก่อนที่จะบรรจุอัฐิของนางฟ้าหยาดกับพญาจันทราช
ได้รับสั่งให้ช่างหลอพระพุทธรูปและเทวรูปทองคำ จำนวน 84,000 องค์
ประกาศให้ชาวเมืองฟ้าแดดสงยางหล่อหรือสร้างพระพุทธรูปทุกครัวเรือน
โดยให้หล่อหรือสร้างด้วยทองคำ อิฐ หิน หรือดินเผาแล้วแต่ศรัทธา
แล้วบรรจุไว้ในเจดีย์คู่ เพื่อเป็นการบูชาและล้างบาปที่กระทำไว้
จากนั้นได้มอบให้พญาธรรมไปครองเมืองเชียงโสม
ส่งสวยแก่เมืองฟ้าแดดเป็นประจำทุกปี
จากตำนานที่เป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน อาจจะมีความคลาดเคลื่อนแต่ก็คงแฝงไว้ด้วยความจริงไว้บ้าง
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ
เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน”
การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวไต
ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ
คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า
อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น
วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น
โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง
ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนที่มีลักษณะศิลปะที่อ่อนช้อยงดงาม
ลักษณะการแสดงไม่ต่างจากการแสดงฟ้อนเล็บ ถ้าเป็นการแสดงฟ้อนเทียน
นิยมแสดงในเวลากลางคืนเพื่อเน้นความสวยงามของแสงเทียนระยิบระยับสว่างไสว
จุดเด่นของการแสดงชนิดนี้ จึงอยู่ที่แสงเทียนที่ผู้แสดงถือในมือข้างละ ๑
เล่ม
เข้าใจว่าการฟ้อนเทียนนี้แต่เดิมคงจะใช้เป็นการแสดงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
เพื่อเป็นการสักการะเทพเจ้าที่เคารพนับถือในงานพระราชพิธีหลวง
ตามแบบฉบับล้านนาของทางภาคเหนือของไทย
ผู้ฟ้อนมักใช้เจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้น ในสมัยปัจจุบันการแสดงชุดนี้จึงไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักจะสังเกตเห็นว่าความสวยงามของการฟ้อนอยู่ที่การบิดข้อมือที่ถือเทียนอยู่
แสงวับๆ แวมๆ จากแสงเทียนจึงเคลื่อนไหวไปกับความอ่อนช้อยลีลา
และลักษณะของเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบนับเป็นศิลปะที่น่าดูอย่างยิ่งแบบหนึ่ง
การแต่งกาย
ใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน นิยมแสดงหมู่คราวละหลายคน
โดยจำนวนคนเป็นเลขคู่ เช่น ๘ หรือ ๑๐ คน
แล้วแต่ความยิ่งใหญ่ของงานนั้น และความจำกัดของสถานที่
โดยผู้แสดงแต่งกายแบบฟ้อนเล็บ คือ
การสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่นมีเชิงกรอมเท้า มุ่นผมมวย มีอุบะห้อยข้างศีรษะ ในมือเป็นสัญลักษณ์
คือ ถือเทียน ๑ เล่ม การแต่งกายของฟ้อนเทียนนี้
ปัจจุบันแต่งได้อีกหลายแบบ
คืออาจสวมเสื้อในรัดอก ใส่เสื้อลูกไม้ทับแต่อย่างอื่นคงเดิม
และอีกแบบคือสวมเสื้อรัดอก แต่มีผ้าสไบเป็นผ้าทอลายพาดไหล่อย่างสวยงาม
แต่ยังคงนุ่งซิ่นกรอมเท้าและมุ่นผมมวย มีอุบะห้อยศีรษะ
โอกาสที่แสดง ในงานพระราชพิธี หรือวันสำคัญทางศาสนา ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองชาวต่างชาติ และในงานประเพณีสำคัญตามแบบฉบับของชาวล้านนา
กิจกรรมต่างๆของกลุ่มรำไทยโชว์ในสิงคโปร์
Subscribe to:
Posts (Atom)