รำถวายพระพร

รำถวายพระพร
รำถวายพระพร

Thursday, February 16, 2017

nongchat แต่งหน้า(สงกรานต์)

แต่งหน้า-ทำผม นางนพมาศ (ลอยกระทง)

ระบำเทพบันเทิง

รำอวยพรอ่อนหวาน

ฟ้อนตังหวาย Forn tang wai





งหวาย เป็นชื่อเมืองหนึ่งในแคว้นสะหวัีนนะเขต
แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชาวตังหวายมีวัฒนธรรมการขับลำด้วยท่วงทำนองแบบเฉพาะของตน
เรียกลำทำนองนี้ว่า "ลำตังหวาย" หมายถึงลำด้วยท่วงทำนองแบบชาวตังหวาย หรือลำสังวาดตังหวาย นั่นเอง





ฟ้อนตังหวาย เป็นชุดการแสดงเมื่อ นายประดิษฐ์
แก้วชิน ได้ไปพบการแสดงนี้ในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
เห็นว่าการแสดงหมอลำตังหวายมีทำนองสนุกสนาน
จึงได้ทดลองให้เด็กนักเรียนมาฝึกหัด แล้วนำออกไปแสดงในงานปีใหม่
ที่ทุ่งศรีเมืองกลางเมืองอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2514



ต่อมา อ. ศิริเพ็ญ หัวหน้าภาควิชานาฏศิลป์วิทยาลัยครูอุบลราชธานี (มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี) เห็นควรจะส่งเสริมให้เป็นชุดการแสดงประจำจังหวัด จึงได้นำเอาต้นแบบไปเพิ่มเติมให้สวยงามมากยิ่งขึ้น





เนื้อร้อง "ลำตังหวาย" ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธาน



(เกริ่นนำ) โอ..... บุญเอ๋ย บุญอีนางที่เคยสร้าง
ซางบ่เป็นหนทาง โอ๊ยหนทาง พอให้น้องได้เที่ยว ละซางมีบาปมาแล่นเข็น
ละซางมีเวรมาแล่นต้อง ทำให้น้องห่างพี่ชาย ห่างพี่ชาย โอ๊ยละนา ....



(กล่าวคำกลอน)

ตังหวายนี้มีมาแต่โบราณ                ชาวอีสานบำรุงไว้อย่าให้หาย

ของเขาดีมีไว้อย่าทำลาย                ขอพี่น้องทั้งหลายจงได้ชม

เขมราฐอำเภอถิ่นบ้านเกิด               ช่วยกันเถิดรักษาไว้อย่าได้สูญ

ท่าฟ้อนรำต่างๆช่วยเพิ่มพูน              อย่าให้สูญเสียศิลปะเรา

…………………



(ขึ้นทำนองลำ)



(หญิง)  บัดนี้ข้าขอยอนอแม่นมือน้อม     ชุลีกรเด้อแม่นก้มกราบ
ชูสลอนนอนบนอบนิ้ว ถวายไท้ดอกผู้อยู่เทิง อ้ายพี่คนงามนี่นา หนาคิงกลม
(เยือกๆๆๆ)



(หญิง) ชายเอย จุดประสงค์นอแม่นหมายแม้น
เพื่อเผยศิลป์นอพื้นบ้านเก่า ของไทยเฮานอตั้งแต่ก่อน
โบราณผู้ให้เฟื่องให้ฟู  อ้ายพี่ของน้องนี่นา คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)



(ชาย) คำนาง ปูเป็นทางนอเพื่อเลือกแต้ม ทางอีสานนอบ่ให้หลุดหล่น
มรภ.อุบลฯ  เฮาแม่นพวกพ้อง นำมาฮ้อง ออกโฆษณา หล่าพี่คนงามนี่เอย
หนองหมาว้อ (เยือกๆๆๆ)



(หญิง) ชายเอย หาเอาตังกะละแม่นหวายเซิ้ง ลำแต่เทิงน้อบ้านเจียดก่อ
สืบแต่กอเด้อซุมผู้เฒ่า ใบลานพู้นดอกพื้นกะหาย  ดอกพื้นกะหาย
ดอกพื้นกะหาย อ้ายพี่ของน้องนี่นา คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)



(ชาย) คำนาง คนจบๆเด้อแม่นจั่งน้อง งามๆเด้อแม่นจั่งน้อง
ซางบ่ไปน้อแม่นกินข้าว หัวมองหนอแม่นนำไก่ คนขี้ฮ้ายคือว่าจั่งอ้าย
กินข้าวแม่นบ่ายปลา หล่าพี่คนงามนี่เอย ครูบ้านนอก (เยือกๆๆๆ)



(หญิง) ชายเอย คิดถึงคราวนอแม่นเฮาเว้า อยู่เถียงนาน้อบ่มีฝา
แม่สิฟาดนอแม่นไม้ค้อน แม่สิย้อนนอแม่นไม้แส้ ตีน้องนั่นแต่ผู้เดียว
นั่นแต่ผู้เดียว นั่นแต่ผู้เดียว อ้ายพี่ของน้องนี่นา คนงามเอย
(เยือกๆๆๆ)



(ชาย) นางเอย ไปบ่เมือนอแม่นนำอ้าย เมือนำนอแม่นอ้ายบ่
ค่ารถอ้ายบ่ให้เสีย ค่าเฮืออ้ายบ่ให้จ้าง อ้ายสิตายนอแม่นเป็นซ้าง
เอราวัณนอให้น้องขี่ ตายเป็นรถนอแม่นแท็กซี่ ให้น้องนี่ขี่ผู้เดียว
ขี่ผู้เดียว ขี่ผู้เดียว หล่าพี่คนงามนี่เอย คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)



(หญิง)  ชายเอย ย้านบ่จริงนอแม่นจั่งว่า สีชมพูนอแม่นจั่งว่า
หย้านคือตอกกะลิแม่นมัดกล้า ดำนาแล้วดอกเหยียบใส่ตม เหยียบใส่ตม
เหยียบใส่ตม อ้ายพี่ของน้องนี่นา คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)



(ชาย)  บัดนี้ ขอสมพรนอแม่นไปให้ ทหารไทยนอแม่นกล้าแกร่ง
ทั้งชายแดนและตำรวจน้ำ  อ.ส.กล้าท่านจงเจริญ สรรเสริญภิญโญนอเจ้า
ขอให้สุขนอแม่นทั่วหน้า ชาวประชาทุกคืนทุกวัน ทุกคืนทุกวัน ทุกคืนทุกวัน
หล่าพี่คนงามนี่เอย คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)



(ขึ้นทำนองเต้ยโขง)



เอ้าลาลาลาลาที เอ้าลาลาลาลาที ขอให้โชคดีเถิดนะแฟนจ๋า

เสียงจากลูกทุ่งบ้านนา เสียงจากลูกทุ่งบ้านนา โชคดีเถิดหนาลองฟังกันใหม่

ถ้าหากสนใจฉันขอขอบคุณ ถ้าหากสนใจฉันขอขอบคุณ

คันไกลคันไกลกันแล้ว คันไกลคันไกลกันแล้ว เฮือแจวมันไกลจากฝั่ง
เฮือแจวมันไกลจากฝั่ง ดอกสะมังละมันไกลจากต้น จากต้นละจากต้น จากต้น
บ่มีได้แม่นกลิ่นหอม นั่นละนาหนานวลนา  ละนาคนไทยนี่นา  หางตาเจ้าลักท่าลา
พวกฉันขอลาไปแล้ว  พวกฉันขอลาเจ้าไปแล้ว


.................................................



ฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ Forn bai sri su khwan





ความสำคัญของพิธีบายศรีสู่ขวัญ

  ความสำคัญของพิธีบายศรีสู่ขวัญ


พิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นพิธีที่สำคัญของชาวอีสาน
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับขวัญและจิตใจ เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจที่ดีขึ้น 


การดำเนินชีวิตของชาวอีสานแทบทุกอย่าง จึงมีการบายศรีสู่ขวัญควบคู่กันไปเสมอ
เป็นการเรียกร้องพลังทางจิต 


ช่วยให้มีพลังใจที่เข้มแข็ง
สามารถฟันฝ่าภัยพิบัติต่างๆได้ การสู่ขวัญช่วยทำให้เกิดมงคล
ทำให้ดำรงอยู่ด้วยความสุขราบรื่น 


มีโชคลาภมากขึ้น
และอาจดลปรารถนาให้ผู้ที่เคราะห์ร้ายพ้นจากสรรพเคราะห์ทั้งปวง ด้วยมูลเหตุแห่งการสู่ขวัญ



    การประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญของชาวอีสาน
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับขวัญและจิตใจ ช่วยก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจที่ดีขึ้น
ซึ่งชาวอีสาน


เห็นความสำคัญทางจิตใจเป็นอย่างมาก
ดังนั้นวิถีการดำเนินชีวิตแทบทุกอย่างจึงมักจะมีการสู่ขวัญควบคู่กันไปเสมอ
การสู่ขวัญจะช่ว


ให้เกิดศิริมงคล ชีวิตอยู่ด้วยความราบรื่น จิตใจเข้มแข็ง
โชคดียิ่งขึ้น ปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดี หายจากสรรพเคราะห์ทั้งปวง
ทั้งพิธีบายศรีสู่ขวัญ


มีหลายรูปแบบ แล้วแต่ว่าจะจัดพิธีสู่ขวัญในเรื่องใด
เช่นการสู่ขวัญเด็ก การสู่ขวัญนาค การสู่ขวัญบ่าวสาว
หรือจะเป็นการสื่อขวัญ


ในเหตุที่ทำให้เกิดการเสียขวัญ จิตใจไม่ดี
เพื่อเรียกให้ขวัญมาอยู่กับเนื้อกับตัว สิ่งไม่ดีให้ผ่านพ้นไป มีพลังใจที่ดี
รวมทั้งการสู่ขวัญสัตว์ 


และสิ่งต่างๆก็อาจทำได้
แต่การปฏิบัตินอกจากจะมีเครื่องขวัญที่ใช้ในพิธีแล้ว พิธีการต่างๆก็จะแตกต่างกันไปเป็นปลีกย่อย
แล้วแต่ลักษณะพิธี


 ซึ่งประเพณีบายศรีสู่ขวัญในภาคอีสาน
เป็นประเพณีที่ประชาชนส่วนมาก ยังนิยมปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป
เพราะถือว่าเป็นพิธีที่เป็นศิริมงคล 


เป็นการมอบความปรารถนาดีและดลบันดาลให้
ผู้รับการทำพิธีตลอดจนผู้เกี่ยวข้องมีความสุขความเจริญ และจิตใจสงบสุข


และส่งเสริมให้ประชาชนมีความรักใคร่กันเป็นอย่างดี นับเป็นวัฒนธรรมที่ดี
ควรแก่การอนุรักษ์ให้อยู่สืบไป



   การบายศรีสู่ขวัญ
เป็นวัฒนธรรมอันดีของชาวอีสานและชาวเหนือจัดขึ้นเพื่อเป็นการรับขวัญ
และเรียกขวัญของผู้ที่จากบ้านไปไกล


ด้วยเวลาอันยาวนาน หรือผู้ที่เพิ่งหายป่วยไข้
ตลอดจนเป็นการแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งในทางราชการ 


และเป็นการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือน ซึ่งในภาคอีสานนั้น
เมื่อมีการจัดงานอะไรก็ตาม ก็จะมีพิธีบายศรีสู่ขวัญควบคู่ไปด้วย 


การจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญก็เพื่อต้อนรับแขกนั้น
มักจะทำกันอย่างสวยงาม ใหญ่โต